Select Page

ธุรกิจพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน

โรงคัดแยกขยะชุมชน MSW Plant

Waste to Energy หรือ การผลิตพลังงานจากขยะ หนึ่งในแนวคิดของการกำจัดขยะที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก จากปัญหาขยะล้นเมืองที่เกิดขึ้นทำให้ทุกคนหันให้ความสำคัญ และมองว่าเป็นสิ่งที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษระบุว่า ปี 2560 ประเทศไทยมีสถานการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้นประมาณ 75,000 ตัน/วัน และคาดว่าปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี
เมื่อเป็นเช่นนี้ปลายทางของขยะที่ถูกกำจัดโดยการเทลงหลุมฝังกลบ (Landfill) จึงไม่ได้เป็น Solution ที่ตอบโจทย์อีกต่อไป ดังนั้นอีกหนึ่งทางเลือกในการกำจัดขยะ คือ การนำแนวคิด Circular Economy หรือระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ามาใช้ โดยการให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อที่จะนำมาซึ่งความยั่งยืนในอนาคต ด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนช่วยผลักดัน จึงทำให้มีการนำขยะหมุนเวียนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงานไฟฟ้า จึงได้เกิดขึ้นเป็น ‘โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ’ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในระยะหลังประเทศไทยได้มีการกระตุ้นเรื่องดังกล่าวให้ได้รับการผลักดันให้เป็นหนึ่งในแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 -2579 ด้วย โดยหนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าสนใจในการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีมลพิษที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน

พลังงานโซลาร์ Solar Power Plant

ปัจจุบัน กระแสการตื่นตัวกับสภาวะโลกร้อน ที่ประเทศพัฒนาแล้วเริ่มใช้มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกมาใช้เป็นมาตรการกีดกันทางการค้า ทำให้ผู้ประกอบการไทยได้ให้ความสนใจในพลังงานสะอาดและระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อคู่ค้า และช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจได้อีกด้วย

ระบบโซล่าเซลล์
การผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ

  • ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (PV stand-alone system)
    เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบสำหรับใช้งานในพื้นที่ชนบทที่ไม่มีระบบสายส่งไฟฟ้า อุปกรณ์ของระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ต่อใช้งานตรงกับโหลดไฟฟ้ากระแสตรง และอีกรูปแบบหนึ่งคือนำมาต่อให้ได้แรงดันตามความต้องการของอุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ (Solar charge controller) ถ้ากำลังไฟฟ้าเหลือก็สามารถนำไปชาร์ตเข้าแบตเตอรี่
  • ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า (PV grid connected system)
    เป็นระบบผลิตไฟฟ้าในเขตพื้นที่ที่มีระบบโครงข่ายไฟฟ้าเข้าถึง อุปกรณ์ของระบบที่สำคัญ ประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งนำมาต่อให้ได้แรงดันตามความต้องการของอินเวอร์เตอร์ โดยต่อผ่านกล่องต่อสายและเบรกเกอร์ไฟฟ้ากระแสตรงและกำลังไฟฟ้าตามที่ต้องการใช้งานของโหลด ซึ่งแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้สามารถนำไปใช้งานได้โดยตรงโดยการต่อกับโหลดไฟฟ้ากระแสตรง หรือแปลงเป็นไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งสามารถนำไปใช้กับโหลดไฟฟ้ากระแสสลับและในขณะเดียวกัน
  • ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสาน (PV Hybrid system)
    ระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับผลิตไฟฟ้าร่วมกับอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ อุปกรณ์ของระบบ ที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งนำมาต่อให้ได้แรงดันตามความต้องการของอุปกรณ์แปลงผันพลังงาน แบบผสมผสาน (Hybridge inverter) โดยสามารถใช้งานร่วมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า กังหันลมผลิตไฟฟ้า และแบตเตอรี่ โดยไฟฟ้ากระแสสลับที่ได้อาจจะนำไปใช้กับซึ่งสามารถนำไปใช้กับโหลดไฟฟ้ากระแสสลับ และในขณะเดียวกันก็สามารถต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า

เทคโนโลยีเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน หลอดไฟฟ้า LED

การใช้หลอดไฟ LED นอกจากจะให้พลังงานที่คุ้มค่า ลดภาวะโลกร้อนแล้ว ยังใช้พลังงานน้อยกว่าหลอดไส้ถึง 5 เท่าอีกด้วย การเปลี่ยนมาใช้หลอด LED ยังมีข้อดีอีกมากมาย ดังนี้

1. ช่วยถนอมสายตาและให้แสงสีขาว เหมาะกับงานต้องการคุณภาพแสงที่สูง

2. มีระยะการเวลาและอายุการใช้งานนาน ไม่พังง่าย ทนแรงกร่อนได้เป็นอย่างดี
3. ย่อยสลายได้เร็ว ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
4. หลอด LED ไม่มีรังสี UV รังสีอัลตราไวโอเลต และรังสีอินฟราเรดที่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง
5. ไม่ดึงดูดแมลงให้เล่นไฟ จนทำให้เกิดความรำคาญ

ที่อยู่

บริษัท ดับบลิวทีอี คอร์ปอเรชั่น จำกัด นิติบุคคลเลขที่ 0105559156913 สำนักงานใหญ่
เลขที่ 101/1 ซ.พระยาสุเรนทร์ 20 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510
EMAIL
info@wtecorporation.com
wte.corporation@gmail.com

02-077-5504082-8326244