Select Page
ธุรกิจเชื้อเพลิง
บริษัทให้บริการจัดหา แปรรูปและขายเชื้อเพลิง RDF เชื้อเพลิงในรูปแบบต่างๆ เพื่อใช้ในโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ทั้งในและต่างประเทศ รวมไปถึงการส่งเสริมการปลูกพืชพลังงาน การคัดแยกขยะชุมชน เพื่อเสริมความมั่นคงด้านเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าของกลุ่มบริษัท และลูกค้าภายนอก ทั้งในและต่างประเทศ

การปลูกพืชพลังงาน

พืชพลังงานทดแทน คือ พืชที่สามารถนำส่วนต่างๆของพืชมาใช้ผลิตพลังงานทดแทนน้ำมันที่ได้จากปิโตรเลียม โดยพืชแทบทุกชนิดนั้นเป็นพืชอาหารของมนุษย์ สามารถแบ่งได้ 3 ชนิด คือ

  1. พืชน้ำมัน เช่น ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง มะพร้าว ทานตะวัน ละหุ่ง สบู่ดำ
  2. พืชแป้งและน้ำตาล เช่น ข้าวโพด ข้าว ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง อ้อย แก่นทานตะวัน
  3. มวลชีวภาพของพืช เช่น เศษซากพืชที่เหลือจากการเกษตร เศษซากที่เหลือจากอุตสาหกรรมการเกษตรที่ใช้พืชเป็นวัตถุดิบ
    การปลูกพืชพลังงาน นอกจากจะเป็นทางเลือกเพื่อสร้าง “ความมั่งคั่งยั่งยืนพลังงานไทย” แล้ว “พืชชีวมวล” เหล่านี้ ยังส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม เนื่องจากช่วยสร้างงานและสร้างรายได้แก่เกษตรกร

เชื้อเพลิงขยะ RDF

บริษัทฯ ให้บริการจัดหาและแปรรูป เชื้อเพลิง RDF ให้กับโรงไฟฟ้า ทั้งที่เป็นเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจากเกษตรกรในพื้นที่ ในแต่ละฤดูกาล และการส่งเสริมให้ชุมชนปลูกพืชพลังงานต่าง ๆ ในแต่ละปี บริษัทฯ มีการบริหารเชื้อเพลิงเป็นจำนวนรวมหลายแสนตัน เพื่อให้มั่นใจว่าโรงไฟฟ้าทุกโรงจะมีเชื้อเพลิงที่เพียงพอ โดยมีต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงจนเกินไป

น้ำมันจากระบบไพโรไลซิส

บริษัทฯ ให้บริการจัดหาและแปรรูป เชื้อเพลิง RDF ให้กับโรงไฟฟ้า ทั้งที่เป็นเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจากเกษตรกรในพื้นที่ ในแต่ละฤดูกาล และการส่งเสริมให้ชุมชนปลูกพืชพลังงานต่าง ๆ ในแต่ละปี บริษัทฯ มีการบริหารเชื้อเพลิงเป็นจำนวนรวมหลายแสนตัน เพื่อให้มั่นใจว่าโรงไฟฟ้าทุกโรงจะมีเชื้อเพลิงที่เพียงพอ โดยมีต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงจนเกินไป

  • เริ่มจากกระบวนการลำเลียงขยะพลาสติกลงใน เครื่องนวัตกรรม ไพโรไลซิส (Pyrolysis Machine) ที่สามารถรองรับขยะพลาสติกได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นถุงพลาสติก พลาสติกห่อหุ้ม และบรรจุภัณฑ์พลาสติก (ซึ่งพลาสติกกลุ่มนี้หลังจากถูกใช้งานมักถูกทิ้งใส่หลุมฝังกลบ ทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งบนบกและในท้องทะเล)
  • จากนั้นเครื่องจะให้ความร้อนต่อขยะพลาสติกที่ถูกใส่ไปเพื่อให้เกิดควันและก๊าซ เป็น “ก๊าซไวไฟ” ขั้นตอนนี้ไม่ใช่การเผาแต่เป็นการใช้ความร้อนเพื่อย่อยสลาย ไม่เกิดไอพิษลอยสู่ชั้นบรรยากาศ ก๊าซไวไฟ ที่ได้ในขั้นตอนนี้จะถูกรวบรวม นำไปใช้เพื่อสร้างความร้อนในขั้นตอนการแปรสภาพขยะพลาสติก
  • ส่วนควันที่เกิดขึ้นจะลอยผ่านระบบกลั่นและเปลี่ยนเป็นของเหลว ซึ่งพลังงานหรือน้ำมันชีวภาพ ถูกสร้างขึ้นด้วยกระบวนการนี้
  • น้ำมันชีวภาพขั้นสูงบางส่วนที่ผลิตได้ยังหมุนเวียนนำกลับมาใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับเครื่องนวัตกรรมไพโรไลซิสได้อีกครั้ง ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากภายนอก

ที่อยู่

บริษัท ดับบลิวทีอี คอร์ปอเรชั่น จำกัด นิติบุคคลเลขที่ 0105559156913 สำนักงานใหญ่
เลขที่ 101/1 ซ.พระยาสุเรนทร์ 20 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510
EMAIL
info@wtecorporation.com
wte.corporation@gmail.com

02-077-5504082-8326244